การทำงาน ของ เงิน บุญสุภา

เงิน บุญสุภา ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน และหันมาทำธุรกิจหินอ่อน โดยก่อตั้งบริษัท โรงโม่หินสุภา และโรงโม่หินเกียรติกมล เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสระบุรี (สจ.) ในปี พ.ศ. 2518 และเป็นประธานสภาจังหวัดสระบุรี 4 สมัย

ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระบุรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคชาติไทย พร้อมกันกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร และนายปองพล อดิเรกสาร จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 เขาย้ายมาสังกัดพรรคราษฎร ในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติไทย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 และย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 และพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544

เงิน บุญสุภา เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร (ครม.48)[2] ก่อนจะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ